E-Magazine facebook
สาส์นจากนายกสมาคม TRA PRESIDENT VIEW
 
   สารจากนายกสมาคมยางพาราไทย
   Taxonomy กับการพัฒนาการเงินเพื่อความยั่งยืน
ปัจจุบันทั่วโลกให้ความสนใจในการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Net Zero Emission) และการให้ความสำคัญกับการเงินสีเขียว (Green Finance) ซึ่งเป็นการเพิ่มกระแสการเงินจากธนาคาร การให้สินเชื่อ การประกันภัย และการลงทุนทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชนให้ไหลไปสู่กิจกรรมของโลกธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน จุดสำคัญอยู่ที่การบริหารความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมให้ดีขึ้น คว้าโอกาสในการให้ผลตอบแทน และประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆกัน นำไปสู่การดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบมากขึ้น Green Finance แม้จะเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย แต่เรื่องนี้เป็นเรื่องระดับโลกที่เดินหน้ามาอย่างยาวนานแล้ว และแสดงให้เห็นว่าโลกการเงินก็สามารถกลายมาเป็นส่วนสำคัญในการช่วยโลกแก้ไขปัญหา Climate Change  โดยต้องสร้างความร่วมมือให้เกิดขึ้นกับทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ หน่วยงานกำกับดูแล ตลาดเงิน ตลาดทุน รวมไปถึงภาคเอกชนที่ต้องจับมือสร้างมาตรฐานร่วมกัน ขับเคลื่อนไปสู่การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ หรือ Net Zero ให้ได้ในปี 2050 โดยใช้ Green Finance เป็นเครื่องมือสำคัญ(ที่มา :  สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (มหาชน)) 

ทั่วโลกเริ่มมีการหยิบยกคำว่า Taxonomy มาใช้อย่างแพร่หลายในด้าน Green Finance โดย Taxonomy คือการกำหนดนิยามและหมวดหมู่กิจกรรมในภาคเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อช่วยประเมินว่า กิจกรรมใดเข้าข่ายเป็นการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ซึ่งการมีหลักการและแนวทางที่ชัดเจนจะช่วยให้มีความโปร่งใส ตลอดจนมีมาตรฐานที่สอดคล้องกันทั้งระบบ โดย Taxonomy เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้การจัดสรรเงินทุนและมาตรการสนับสนุนของภาครัฐ รวมทั้งการลงทุนของภาคเอกชน ตอบโจทย์เป้าหมายด้านความยั่งยืนและการเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศ ได้อย่างตรงจุด  สาระสำคัญของ Thailand Taxonomy คือมาตรฐานกลางซึ่งเป็นไปตามความสมัครใจที่ใช้อ้างอิงในการจำแนกและจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของไทย แบ่งเป็น 3 ระดับได้แก่ สีเขียว สีเหลือง และสีแดง และต้องเป็นกิจกรรมที่ไม่สร้างผลกระทบเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆ และคำนึงถึงผลกระทบด้านสังคมไปพร้อมกัน (ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์) โดยระยะที่ 1 ครอบคลุมภาคพลังงานและการขนส่ง ระยะที่ 2 คาดว่าจะครอบคลุมเศรษฐกิจอื่นๆ ที่มีนัยสำคัญ เช่น ภาคอุตสาหกรรมการผลิต ภาคการเกษตร ภาคการก่อสร้าง และภาคการจัดการขยะ 

สมาคมยางพาราไทยจะติดตามความคืบหน้า Taxonomy หรือมาตรฐานใดๆ เพื่อความยั่งยืน เพื่อแจ้งสมาชิกสมาคมฯ และผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน เพื่อรับทราบและเตรียมพร้อมรับมือมาตรฐานใหม่ๆ  ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยางพาราไทย

นายวีรสิทธิ์ สินเจริญกุล   
นายกสมาคมยางพาราไทย

สารจากนายกสมาคมฯ เดือน  พฤศจิกายน  2567     
     
  history  
 
[   พฤศจิกายน  2567 ]
icon Taxonomy กับการพัฒนาการเงินเพื่อความยั่งยืน
ปัจจุบันทั่วโลกให้ความสนใจในการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Net Zero Emission) และการให้ความสำคัญกับการเง...
     [ อ่านต่อ...]  

[   กันยายน  2567 ]
icon ตลาดแอฟริกา
ปัจจุบันทวีปแอฟริกาเป็นตลาดใหม่ที่ได้รับความสนใจอย่างมากจากผู้ส่งออกและนักลงทุนต่างชาติ เนื่องด้วยเศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัว โดยเฉพาะตลาดหลัก อาทิ สหรัฐอเมริกา...
     [ อ่านต่อ...]  

[   กรกฏาคม  2567 ]
icon บทบาทไทยในสมาคมยางนานาชาติ
สมาคมยางนานาชาติ  (IRA) ก่อตั้งขึ้นที่เมืองออตตาวา ประเทศแคนาดา เมื่อปี 2514 ด้วยความร่วมมือของสมาคมการค้าจากประเทศผู้ผลิตและผู้ใช้ยางพารา ปัจจุบันสมาคมยางนานาชาต...
     [ อ่านต่อ...]  

[   มิถุนายน  2567 ]
icon งานเลี้ยงประจำปี 2567
สมาคมยางพาราไทย ได้กำหนดจัดงานเลี้ยงประจำปี 2567  เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2567  ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ การจัดงานเลี้ยงประจำปีครั้งนี้มีแขกผู้สนใจ น...
     [ อ่านต่อ...]  

[   พฤษภาคม  2567 ]
icon ก้าวต่อไปของสมาคมยางพาราไทย
สมาคมยางพาราไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2494   ปัจจุบัน สมาคม ฯ ประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 40 บริษัท ทั้งผู้ผลิตและผู้ส่งออกยางแปรรูปขั้นต้น เช่น ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง ...
     [ อ่านต่อ...]  


หน้า 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29

 

หน้าหลัก  |  รายชื่อสมาชิก  |  ข่าวสาร  |  กิจกรรม  |  ราคายาง  |  สถานการณ์ยางพารา  |  สถิติยางพารา  |  คุยกันเรื่องยาง  |  เชื่อมโยงเว็บไซต์  |  ติดต่อสอบถาม

สมาคมยางพาราไทย  45, 47 ถนนโชติวิทยะกุล 3 อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110
โทรศัพท์  074-429011-2 , 074-429311     โทรสาร  074-429312     E-mail:  tra@thairubber.org

 

©Copyright 2007. All Rights Reserved. Developed by ME-FI dot com