E-Magazine facebook
สาส์นจากนายกสมาคม TRA PRESIDENT VIEW
 
   สารจากนายกสมาคมยางพาราไทย
   งานเลี้ยงประจำปี 2568
สมาคมยางพาราไทยและสมาคมน้ำยางข้นไทยได้จัดงานเลี้ยงร่วมกันเป็นปีแรกภายใต้หัวข้อ Celebration in Unity  เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2568 ณ  โรงแรมแชงกรีล่า  กรุงเทพฯ การจัดงานเลี้ยงประจำปีครั้งนี้มีแขกผู้สนใจ นักธุรกิจ ผู้เกี่ยวข้องในวงการยางจากภาครัฐและภาคเอกชนทั้งภายในประเทศและต่างประเทศเข้าร่วมงานกว่า 1,000 ท่าน  และได้รับเกียรติเป็นอย่างสูงจาก ดร. เพิก เลิศวังพง ประธานกรรมการการยางแห่งประเทศไทย ในการกล่าวสุนทพจน์เปิดงาน  โดยสรุปประเด็นสำคัญดังนี้

ปี 2568 เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวลงจากผลกระทบของอัตราเงินเฟ้อและต้นทุนการผลิตโดยรวมปรับเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง การแข็งค่าขึ้นของดอลลาร์สหรัฐ ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์(Geopolitical Tension) และการกลับมาของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ที่ยังคงนโยบาย "Make America Great Again" ที่ให้ความสำคัญกับการปกป้องผลประโยชน์ทางการค้าของสหรัฐ อาจส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานที่เชื่อมโยงกับไทย และจีนเนื่องจากมาตรการทางภาษีของสหรัฐฯ กับจีน รวมทั้งภาวะโลกร้อน การแพร่ระบาดของโรคใบร่วงของยางพาราส่งผลให้ผลผลิตสินค้าเกษตรชะลอตัวรุนแรง  

สำหรับสถานการณ์ยางพาราปี 2568 ผู้ประกอบการยางต้องเผชิญความเสี่ยงจาก Climate change ที่ถี่และรุนแรงขึ้น และความท้าทายในการปรับตัวกับกฎระเบียบ Climate change ที่เข้มขึ้นทั่วโลก ได้แก่ มาตรการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน(Carbon Border Adjustment Mechanism :CBAM) และกฎหมายเกี่ยวกับสินค้าปลอดการตัดไม้ทำลายป่า(EUDR Deforestation-Free Products) ของสหภาพยุโรปซึ่งจะเลื่อนไปมีผลบังคับใช้ช่วงต้นปี 2569 โดยทุกภาคส่วนควรเตรียมพร้อมรับมือกับกฎระเบียบต่างๆ ทางการค้า เพื่อความยั่งยืนของยางธรรมชาติ สำหรับการขับเคลื่อนนโยบายด้านการเกษตรของรัฐบาลไทยได้แก่ 1)การยกระดับศักยภาพของเกษตรกร/สถาบันเกษตรกรให้เข้มแข็ง 2)การจัดการทรัพยากรทางการเกษตรที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมด้วยBCG/Carbon Credit/EUDR/CBAM 3)การรับมือกับภัยธรรมชาติ และ 4)ปราบปรามการลักลอบนำเข้าสินค้าเกษตรผิดกฎหมาย

การจัดงานเลี้ยงประจำปี 2568 ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความร่วมมือร่วมใจอย่างดีเยี่ยมจากคณะกรรมการ สมาชิก คณะทำงานจัดงานเลี้ยง และทีมงานเจ้าหน้าที่สมาคมฯ  ในนามสมาคมยางพาราไทย ผมขอขอบคุณทุกท่านเป็นอย่างสูง และคาดหวังว่ากิจกรรมดังกล่าวจะเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ผลิตและผู้ใช้ยางให้แน่นแฟ้นยิ่งๆ ขึ้นไป


นายวีรสิทธิ์ สินเจริญกุล
นายกสมาคมยางพาราไทย

สารจากนายกสมาคมฯ เดือน  พฤษภาคม  2568     
     
  history  
 
[   พฤษภาคม  2565 ]
icon ผลกระทบของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 (PDPA)
พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล(Personal Data Protection Act B.E. 2562 (2019)) เป็นกฎหมายว่าด้วยการให้สิทธิ์กับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล สร้างมาตรฐานการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลให้ปลอดภัย ...
     [ อ่านต่อ...]  

[   เมษายน  2565 ]
icon มหกรรมยางพารา 2564 นครฯ แห่งนวัตกรรมยางพารา
ยางพารา พืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศไทย โดยไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกยางอันดับหนึ่งของโลกตั้งแต่ปี 2534 จนถึงปัจจุบัน  ข้อมูลภาพรวมยางพาราไทย ปี 2564 ประเทศไทยมีพื้นที่...
     [ อ่านต่อ...]  

[   มีนาคม  2565 ]
icon วิกฤติสงคราม
ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่เข้าสู่ภาวะสงครามตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 ได้สร้างผลกระทบต่อโลกขยายวงกว้างมากขึ้น โดยผลกระทบหลักที่กระทบกับทุกประเ...
     [ อ่านต่อ...]  

[   กุมภาพันธ์  2565 ]
icon เหลียวหลังแลหน้า
คณะกรรมการสมาคมยางพาราไทย ได้บริหารกิจการของสมาคม ฯ   ตั้งแต่ปี 2562  จนถึงปัจจุบัน คณะกรรมการสมาคมฯ มีแนวทางการบริหารงานสำคัญดังนี้ 1)บริหารสมาคมด้วยความโปร่...
     [ อ่านต่อ...]  

[   มกราคม  2565 ]
icon ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (อาร์เซ็ป)
ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (อาร์เซ็ป) เป็นความตกลงร่วมกันของอาเซียนกับออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น เกาหลี และนิวซีแลนด์ ให้กว้างและลึกขึ้น โดยทุกประเทศร...
     [ อ่านต่อ...]  


หน้า 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30

 

หน้าหลัก  |  รายชื่อสมาชิก  |  ข่าวสาร  |  กิจกรรม  |  ราคายาง  |  สถานการณ์ยางพารา  |  สถิติยางพารา  |  คุยกันเรื่องยางเชื่อมโยงเว็บไซต์  ติดต่อสอบถาม

สมาคมยางพาราไทย  45, 47 ถนนโชติวิทยะกุล 3 อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110
โทรศัพท์  074-429011-2 , 074-429311     โทรสาร  074-429312     E-mail:  tra@thairubber.org

 

©Copyright 2007. All Rights Reserved. Developed by ME-FI dot com