history history
 
   
iconโอกาสยางไทยในอิหร่าน [   เมษายน  2557 ]

 

          อิหร่านหนึ่งในตลาดที่น่าสนใจในการส่งออกยางพาราและผลิตภัณฑ์ยางพารา และมีลู่ทางการขยายตัวได้ดี อันเป็นผลสืบเนื่องจากการที่อิหร่านมีประชากรราว 80 ล้านคน อิหร่านเป็นประเทศที่มั่งคั่งด้วยแหล่งพลังงาน ทั้งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ตลอดจนสินแร่สำคัญ เช่น ถ่านหิน โครเมียม ทองแดง เหล็ก ตะกั่ว แมงกานิส สังกะสี กำมะถัน ฯลฯ และเป็นแหล่งเพาะปลูกพืชผลเมืองหนาวหลายชนิด  มีอาณาเขตติดต่อกับคาซัคสถาน อุชเบกิสถาน อาเซอร์ไบจาน กลุ่มประเทศ CIS ซึ่งมีประชากรรวมหลายร้อยล้านคน จึงมีศักยภาพในการกระจายสินค้าเข้าสู่ประเทศข้างเคียง  สินค้าทีมีศักยภาพในการส่งออกของไทยไปยังประเทศอิหร่านได้แก่ ข้าว เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ เครื่องปรับอากาศ ยางพารา เครื่องคอมพิวเตอร์ เหล็ก เหล็กกล้า รถยนต์และอะไหล่ เป็นต้น  โดยยางพาราและผลิตภัณฑ์ยางพารา เป็นสินค้าที่มีความต้องการสูงขึ้นมาก เนื่องจากอิหร่านจำเป็นต้องใช้เป็นวัตถุดิบในภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่นอุตสาหกรรมรถยนต์ ยางรถยนต์ และเครื่องเครื่องใช้ไฟฟ้า

           อิหร่านเป็นประเทศผู้ใช้ยางรายใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกกลาง และมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด  ปี 2556 อิหร่านเป็นผู้ใช้ยางธรรมชาติลำดับที่ 25 ของโลก มีปริมาณการใช้และนำเข้ายางธรรมชาติ 56,300 ตัน  (องค์กรยางระหว่างประเทศ) โดยในช่วง 11 เดือนแรกของปีงบประมาณอิหร่าน (มีนาคม 2556-กุมภาพันธ์ 2557) อิหร่านนำเข้ายางพารามูลค่า 222,290,930 เหรียญสหรัฐฯ จากประเทศ จีน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ญี่ปุ่น ไทย ตุรกี ไต้หวัน ศรีลังกา สิงคโปร์ คูเวต มาเลเซีย ฮ่องกง อินเดีย เวียดนาม โดยอิหร่านนำเข้ายางพาราจากประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มากที่สุดคิดเป็นมูลค่า 63,905,523 เหรียญสหรัฐฯ รองลงมาได้แก่ จีน มูลค่า 43,099,928 เหรียญสหรัฐฯ สิงคโปร์มูลค่า 25,497,327 เหรียญสหรัฐฯ มาเลเซียมูลค่า 24,642,508 เหรียญสหรัฐฯ (The Islamic Republic of Iran Customs Administration) และนำเข้ายางพาราจากไทยคิดเป็นมูลค่า 681,968,794 ล้านบาท ในปี 2556 (กรมศุลกากร) อย่างไรก็ตามปัญหาสำคัญในการค้ากับประเทศอิหร่านคือ ปัญหาด้านการเมือง เนื่องจากประเทศอิหร่านถูกกีดกันทางการเมืองจากประเทศสหรัฐฯ และไม่ได้รับการพิจารณาเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก และปัญหาด้านระบบการเงิน อันเนื่องมาจากการกีดกันในด้านระบบสินเชื่อจากประเทศสหรัฐฯ ทำให้ประเทศอิหร่านประสบปัญหาด้านระบบการโอนเงินเข้าออกไปต่างประเทศ และไม่สามารถชำระในสกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐได้ นอกจากนี้รัฐบาลอิหร่านมีกฎระเบียบการค้าที่เคร่งครัด มีความซับซ้อนของกฎระเบียบการนำเข้า  และภาษีนำเข้ามีอัตราสูง(สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเตหะราน)


UK aaa quality rolex replica watches are equipped with Swiss movements. You can possess the cheap knockoff watches from online stores.

The perfect ca fake watches here are at affordable prices. All the collections are available.
            จากข้อมูลดังกล่าวแสดงถึงศักยภาพและการเติบโตของอิหร่านที่มีผลดีต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจอาเซียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมยาง  ควรที่ภาครัฐและเอกชนจะได้ให้ความสำคัญในการขยายมูลค่าการค้า และหารือถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการส่งออกที่เกิดขึ้น โอกาสนี้กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศได้เชิญผู้แทนสมาคมฯ เข้าร่วมคณะเดินทางเยือนประเทศอิหร่าน ระหว่างวันที่ 16-20 กุมภาพันธ์ 2557 โดยสมาคมฯ ได้มอบหมายคุณเปรม ปานเดย์ จากบริษัทไทยฮั้วยางพารา จำกัด(มหาชน)เข้าร่วมคณะฯ   กิจกรรมสำคัญคือการเข้าพบหน่วยงานภาครัฐที่สำคัญของอิหร่านได้แก่องค์กรส่งเสริมการค้า (Trade Promotion Organization) ธนาคารกลางอิหร่าน (Central Bank of Iran) หอการค้าอิหร่าน (Iran Chamber of Commerce) และสมาคมผู้นำเข้าอิหร่าน (Iran Association of Importers) นอกจากนี้คณะฯได้สำรวจตลาด Kashani Passage ซึ่งเป็นตลาดค้าปลีก/ส่ง อะไหล่และชิ้นส่วนยานยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเตหะราน  เข้าพบผู้บริหารบริษัท Iran Khodro Group (IKCO)  ซึ่งเป็นผู้ผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ที่ใหญ่ที่สุดของอิหร่าน  เข้าพบผู้บริหารบริษัท Gharb Steel Group ซึ่งเป็นผู้ผลิตอะไหล่และชิ้นส่วนโลหะยานยนต์รายใหญ่ที่สุดของอิหร่าน  และเข้าพบผู้บริหารบริษัท IRISL Group ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทสายเดินเรือขนาดใหญ่ ที่มีรัฐบาลอิหร่านถือหุ้นด้วยบางส่วน รวมทั้งเข้าร่วมกิจกรรมการจับคู่ทางธุรกิจระหว่างนักธุรกิจไทยและอิหร่าน  นับว่ากิจกรรมดังกล่าวเป็นประโยชน์อย่างมาก ในการเสริมสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือทางการค้าซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มมูลค่าการค้าการลงทุนของไทยไปยังประเทศอิหร่านและประเทศข้างเคียง  

Signature
นายไชยยศ สินเจริญกุล
นายกสมาคมยางพาราไทย

 

 
 
สาส์นจากนายกทั้งหมด