history history
 
   
iconบทบาทสภาธุรกิจยางอาเซียน [   พฤศจิกายน  2555 ]

 

      สภาธุรกิจยางอาเซียน (ASEAN Rubber Business Council)  ก่อตั้งขึ้นภายใต้ชื่อ ชมรมธุรกิจยางอาเซียน (ASEAN Rubber Business Club) เมื่อปี 2535 ณ ประเทศอินโดนีเซีย โดยมีสมาชิกผู้ก่อตั้งคือ สมาคมการค้ายางอินโดนีเซีย สิงคโปร์ และประเทศไทย  เพื่อแลกเปลี่ยนทัศนะของสมาชิกเกี่ยวกับธุรกิจยางและระบบการค้า ต่อมาในปี  2548 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นสภาธุรกิจยางอาเซียน ปัจจุบันประกอบด้วยสมาชิก  6 ประเทศได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์  เวียดนามและกัมพูชา  โดยมีสำนักงานกองเลขาธิการตั้งอยู่ที่ประเทศมาเลเซีย  วัตถุประสงค์หลักของสภาธุรกิจยางอาเซียนคือ 1) ส่งเสริมด้านการผลิตและการค้าของประเทศสมาชิก 2) ประสานความร่วมมือด้านการค้ายางของประเทศสมาชิกและประเทศผู้ใช้ยางธรรมชาติ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในด้านคุณภาพ และราคา 3) ประสานความร่วมมือด้านกฎเกณฑ์การซื้อขายยางและสัญญาซื้อขายยางกับสมาคมยางระหว่างประเทศ 4) ประสานความร่วมมือด้านคุณภาพ มาตรฐานยางกับองค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง 5) สนับสนุนข้อมูลด้านวิชาการยางระหว่างประเทศสมาชิกและสนับสนุนข้อมูลแก่องค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง 6) สนับสนุนและช่วยเหลือประเทศสมาชิก แก้ไขอุปสรรค ข้อขัดข้องต่างๆ  รวมทั้งเจรจาทำความตกลงกับบุคคลภายนอก เพื่อประโยชน์ร่วมกันในการค้ายาง และ 7) ประนีประนอมข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิก หรือระหว่างประเทศสมาชิกกับบุคคลภายนอกในการประกอบการค้า ส่งออกยางพารา
Cheap and quality, uk aaa quality replica watches with best movements are suited for men and women.

Wholesale uk replica watches in discount from online store. Fast shipping. Money back guaranty.

 

      สภาธุรกิจยางอาเซียนได้รับการยอมรับว่ามีบทบาทสำคัญในการค้ายางระดับโลก โดยมีกิจกรรมการประชุมอย่างเป็นทางการปีละ 2 ครั้ง   ซึ่งการประชุมครั้งล่าสุด สมาคมยางพาราไทยได้เป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมคณะกรรมการวินัยอุตสาหกรรมครั้งที่ 11  คณะกรรมการฝ่ายเทคนิคด้านสัญญาการค้าครั้งที่ 6 และการประชุมสภาธุรกิจยางอาเซียนครั้งที่ 17  ระหว่างวันที่ 9-10 พฤศจิกายน 2555 ณ โรงแรมโนโวเทล ป่าตอง รีสอร์ท จ.ภูเก็ต โดยมี Mr. Mak Kim Hong จากสมาคมยางกัมพูชา เป็นประธานการประชุม มีผู้เข้าร่วมการประชุมจากตลาดโภค-ภัณฑ์ยางมาเลเซีย(MRE) สมาคมยางสิงคโปร์(RTAS) สมาคมยางอินโดนีเซีย(GAPKINDO) สมาคมยางกัมพูชา(ARDC) และสมาคมยางพาราไทย(TRA) นอกจากกิจกรรมการประชุมแล้วสมาคมยางพาราไทย  ร่วมกับบริษัทวงศ์บัณฑิต จำกัด และบริษัทศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด(มหาชน)  เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำสมาชิกสภาธุรกิจยางอาเซียนในช่วงเวลาดังกล่าว

 

      ในการประชุมสภาธุรกิจยางอาเซียนครั้งที่ 17 มีประเด็นสำคัญดังนี้ 1) การเผยแพร่ข้อมูลรายชื่อผู้ค้าซึ่งไม่ปฏิบัติตามสัญญาการค้าบนเว็บไซต์สภาธุรกิจยางอาเซียน โดยเป็นกรณีที่เข้าสู่ขั้นตอนศาลแล้ว 2) การจัดทำ Press Release เพื่อสนับสนุนสมาชิกสภาธุรกิจยางอาเซียน ให้ระงับการค้ากับผู้ค้าซึ่งไม่ปฏิบัติตามสัญญา   3) การแก้ไขสัญญาการค้าน้ำยางข้น (Preserved rubber latex in drums international contract) 4) การขอเพิ่มสถาบันวิจัยยางเป็น recognized regional laboratory แห่งที่สอง ในสัญญาการค้ายางแท่งและน้ำยางข้น ซึ่งปัจจุบันระบุศูนย์วิจัยยาง สงขลา เป็น recognized regional  laboratory 5) การจัดเตรียมตัวอย่างยางแผ่นรมควันตามมาตรฐาน Green Book  โดยอ้างอิง copy international sample RSS1-3 ซึ่งจัดเตรียมในปี 1974, 1975 โดย The Sample Committee of the Malaysian Rubber Exchange & Licensing Board  6) การทดสอบ Gel Content  สำหรับยาง Low Viscosity Rubber(LV)  ต้องไม่รวมอยู่ในมาตรฐานยางแท่ง 7) การแนะนำสภาธุรกิจยางอาเซียน แก่ประเทศสมาชิกอาเซียนที่เหลือ 4 ประเทศคือ ลาว พม่า ฟิลิปปินส์ และบรูไน 8)การจัดประชุมร่วมระหว่าง ARBC-China  ณ ประเทศสิงคโปร์ ในเดือนมีนาคม 2555 ช่วงเดียวกับงานเลี้ยงประจำปีสมาคมยางสิงคโปร์ และ 9) การแต่งตั้งประธานสมาคมยางอินโดนีเซีย Mr. Daud Husni Bastari  ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานสภาธุรกิจยางอาเซียนตั้งแต่ปี  2556-2557 เนื่องจาก   Mr. Mak Kim Hong ประธานสมาคมยางกัมพูชาจะครบวาระการดำรงตำแหน่งประธาน ARBC ในปี 2555 

 

      จากข้อมูลเบื้องต้นประมวลได้ว่าสภาธุรกิจยางอาเซียนมีบทบาทสำคัญในการประสานความร่วมมืออย่างเข้มแข็งระหว่างประเทศผู้ผลิต และมีส่วนช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมยางธรรมชาติให้ก้าวหน้าอย่างยั่งยืนต่อไป

 

Signature
นายไชยยศ สินเจริญกุล
นายกสมาคมยางพาราไทย

 

 
 
สาส์นจากนายกทั้งหมด