history history
 
   
iconการประชุมสมัชชาสภาธุรกิจยางอาเซียน ครั้งที่ 22 [   กันยายน  2559 ]

 

สภาธุรกิจยางอาเซียน (ASEAN Rubber Business Council)  ก่อตั้งขึ้นภายใต้ชื่อ ชมรมธุรกิจยางอาเซียน (ASEAN Rubber Business Club) เมื่อปี 2535 ณ ประเทศอินโดนีเซีย โดยมีสมาชิกผู้ก่อตั้งคือ สมาคมการค้ายางอินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และประเทศไทย  เพื่อแลกเปลี่ยนทัศนะของสมาชิกเกี่ยวกับธุรกิจยางและระบบการค้า ต่อมาในปี 2548 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นสภาธุรกิจยางอาเซียน ปัจจุบันประกอบด้วยสมาชิกสมาคมยาง 6 ประเทศได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนามและกัมพูชา โดยมีสำนักงานกองเลขาธิการตั้งอยู่ที่ประเทศมาเลเซีย
Swiss replica watches online shop with various perfect panerai replica watches on sale. Fast shipping. Quality guarantee.

This counterfeit watch online store has just about every best 1:1 uk replica watches you could wish for.

สภาธุรกิจยางอาเซียนมีบทบาทสำคัญในการค้ายางระดับโลก โดยมีกิจกรรมการประชุมสมัชชาปีละ 2 ครั้ง ซึ่งการประชุมครั้งล่าสุด สมาคมยางอินโดนีเซียเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมสภาธุรกิจยางอาเซียนครั้งที่ 22 พร้อมกับการประชุมคณะกรรมการฝ่ายเศรษฐกิจและสถิติครั้งที่ 17 ในวันที่ 27 สิงหาคม 2559 ณ โรงแรมแฟร์มองต์ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ในช่วงเดียวกับงานเลี้ยงประจำปีสมาคมยางอินโดนีเซีย ซึ่งจัดในวันที่ 26 สิงหาคม 2559 โดยมี Dr. Suarni Sumormo (รองอธิบดีการยางมาเลเซีย: Deputy Director General, MRB) เป็นประธานการประชุม ในการนี้ ผู้แทนสมาคมยางพาราไทย นำโดยนายศุภเดช อ่องสกุล รองเลขาธิการสมาคมฯ พร้อมด้วยนางสาวปิยภรณ์ แซ่ลิ่ม ผู้จัดการสมาคมฯ และนายประสิทธิ์ เพชรหนูเสด เจ้าหน้าที่สมาคมฯ เข้าร่วมประชุม

การประชุมสภาธุรกิจยางอาเซียนครั้งที่ 22 และการประชุมคณะกรรมการฝ่ายเศรษฐกิจและสถิติครั้งที่ 17 มีประเด็นสำคัญดังนี้ 1) การค้นหาราคายางที่แท้จริง โดยการปรับปรุงกลไกการค้นหาราคายางที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น การกำหนดราคาอุตสาหกรรมและราคาขั้นต่ำ 2)ข้อมูลสถิติ ราคา  และสภาวะตลาดยางพารา ที่ประชุมเสนอให้มีการเผยแพร่ในเว็บไซต์สภาธุรกิจยางอาเซียน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ 3) ข้อเสนอของสมาคมยางพาราไทยเรื่องราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ณ ตลาดสิงคโปร์ ไม่เป็นธรรม ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการที่มีสัญญา Long Term โดยตลาดสิงคโปร์ได้ทำหนังสือชี้แจง และเชิญสมาชิกสมาคมยางพาราไทยให้เข้าร่วมเป็น price panelists เพื่อร่วมกันกำหนดราคายางพาราให้ดีขึ้น 4) ข้อเสนอของสมาคมยางพาราไทยเรื่อง Incoterms 2010 (FCA, DAP Terms) และการระบุความรับผิดชอบค่า THC ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมทางการค้า 5) ความคืบหน้าในการจัดเตรียมตัวอย่างยางแผ่นรมควันตามมาตรฐาน Green Book อ้างอิงจาก RSS Master Sample ฉบับปี 1968 โดยสมาคมฯ อยู่ระหว่างการจัดเตรียมเพื่อนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสมาคมยางนานาชาติต่อไป 6) การแลกเปลี่ยนข้อมูลข้อพิพาททางการค้า โดยที่ประชุมขอให้สมาชิก ARBC เพิ่มความระมัดระวังในการตรวจสอบประวัติของคู่ค้าก่อนการดำเนินธุรกิจร่วมกัน และ 7)การส่งมอบตำแหน่งประธานสภาธุรกิจยางอาเซียนจากตลาดโภคภัณฑ์ยางมาเลเซีย/สมาพันธ์สมาคมยางมาเลเซีย แก่สมาคมยางพาราไทย  โดยที่ประชุมได้กำหนดจัดพิธีส่งมอบตำแหน่งประธานสภาธุรกิจยางอาเซียน วาระปี 2017-2018 ในวันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม 2559 ณ กรุงโฮจิมินต์ ประเทศเวียดนาม ในช่วงเดียวกับงานเลี้ยงประจำปีสมาคมยางเวียดนาม

จากข้อมูลข้างต้น ประมวลได้ว่าสภาธุรกิจยางอาเซียนมีบทบาทสำคัญในการประสานความร่วมมืออย่างเข้มแข็งระหว่างประเทศผู้ผลิตและมีส่วนช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมยางธรรมชาติให้ก้าวหน้าอย่างยั่งยืนต่อไป

Signature
นายไชยยศ สินเจริญกุล
นายกสมาคมยางพาราไทย

 

 
 
สาส์นจากนายกทั้งหมด