history history
 
   
iconบทบาทสภาธุรกิจยางอาเซียน [   ตุลาคม  2557 ]

 

          สภาธุรกิจยางอาเซียน (ASEAN Rubber Business Council)  ก่อตั้งขึ้นภายใต้ชื่อ ชมรมธุรกิจยางอาเซียน (ASEAN Rubber Business Club) เมื่อปี 2535 ณ ประเทศอินโดนีเซีย โดยมีสมาชิกผู้ก่อตั้งคือ สมาคมการค้ายางอินโดนีเซีย สิงคโปร์ และประเทศไทย  เพื่อแลกเปลี่ยนทัศนะของสมาชิกเกี่ยวกับธุรกิจยางและระบบการค้า ต่อมาในปี 2548 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นสภาธุรกิจยางอาเซียน ปัจจุบันประกอบด้วยสมาชิก 6 ประเทศได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนามและกัมพูชา โดยมีสำนักงานกองเลขาธิการตั้งอยู่ที่ประเทศมาเลเซีย วัตถุประสงค์หลักของสภาธุรกิจยางอาเซียนคือ
Wish you find UK Swiss movement fake watches from the discounted website. They are suitable for both men and women.

If you like forever classic fake watches, you cannot miss the luxury uk replica watches.

1)ส่งเสริมด้านการผลิตและการค้าของประเทศสมาชิก 
2)ประสานความร่วมมือด้านการค้ายางของประเทศสมาชิกและประเทศผู้ใช้ยางธรรมชาติ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในด้านคุณภาพ และราคา 
3)ประสานความร่วมมือด้านกฎเกณฑ์การซื้อขายยางและสัญญาซื้อขายยางกับสมาคมยางระหว่างประเทศ 
4)ประสานความร่วมมือด้านคุณภาพ มาตรฐานยางกับองค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง 
5)สนับสนุนข้อมูลด้านวิชาการยางระหว่างประเทศสมาชิกและสนับสนุนข้อมูลแก่องค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง 
6)สนับสนุนและช่วยเหลือประเทศสมาชิก แก้ไขอุปสรรค ข้อขัดข้องต่าง ๆ รวมทั้งเจรจาทำความตกลงกับบุคคลภายนอก เพื่อประโยชน์ร่วมกันในการค้ายาง 
และ7)ประนีประนอมข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิก หรือระหว่างประเทศสมาชิกกับบุคคลภายนอกในการประกอบการค้าและส่งออกยางพารา 

          สภาธุรกิจยางอาเซียนมีบทบาทสำคัญในการค้ายางระดับโลก โดยมีกิจกรรมการประชุมอย่างเป็นทางการปีละ 2 ครั้ง ซึ่งการประชุมครั้งล่าสุด ตลาดโภคภัณฑ์ยางมาเลเซียเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมสภาธุรกิจยางอาเซียนครั้งที่ 20 ในวันที่ 11 ตุลาคม 2557 ณ โรงแรมอีควาทอเรียล เมืองมะละกา ประเทศมาเลเซีย ในช่วงเดียวกับงานเลี้ยงประจำปีตลาดโภคภัณฑ์ยางมาเลเซียซึ่งจัดในวันที่ 10 ตุลาคม 2557 โดยมี Dr. Rusdan Dalimunthe ผู้บริหารระดับสูงจากสมาคมยางอินโดนีเซีย เป็นประธานการประชุม มีผู้เข้าร่วมการประชุมจากตลาดโภคภัณฑ์ยางมาเลเซีย(MRE) สมาคมยางสิงคโปร์(RTAS) สมาคมยางอินโดนีเซีย(GAPKINDO) สมาคมยางเวียดนาม(VRA) สมาคมยางกัมพูชา(ARDC) และสมาคมยางพาราไทย(TRA)  นำโดยคุณศุภเดช อ่องสกุล รองเลขาธิการสมาคมฯ คุณปิยภรณ์ แซ่ลิ่ม ผู้จัดการสมาคมฯ และเจ้าหน้าที่สมาคมฯ เข้าร่วมการประชุม 

          ในการประชุมสภาธุรกิจยางอาเซียนครั้งที่ 20 มีประเด็นสำคัญดังนี้ 1)การจัดเตรียมตัวอย่างยางแผ่นรมควันตามมาตรฐาน Green Book ใหม่ โดยอ้างอิง copy of RSS master samples ซึ่งจัดเตรียมในปี 1968 ในความครอบครองของตลาดโภคภัณฑ์ยางมาเลเซีย โดยสมาคมยางพาราไทยเสนอเป็นผู้จัดทำตัวอย่างยางแผ่นรมควันตามมาตรฐาน Green Book เพื่อนำเสนอแก่สมาคมยางนานาชาติต่อไป 2)การเชิญชวนสมาคมยางประเทศสมาชิกอาเซียน 4 ประเทศคือ ลาว เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ และบรูไน เข้าร่วมเป็นสมาชิกสภาธุรกิจยางอาเซียน 3)ความร่วมมือของสมาชิกสภาธุรกิจยางอาเซียนในการเสนอขายยางราคาไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 1.5 เหรียญสหรัฐฯ ตามข้อเสนอของสมาคมยางอินโดนีเซีย 4)การแต่งตั้งประธานตลาดโภคภัณฑ์ยางมาเลเซียขึ้นดำรงตำแหน่งประธานสภาธุรกิจยางอาเซียนวาระปี  2558-2559 เนื่องจาก Mr. Daud Husni Bastari   นายกสมาคมยางอินโดนีเซีย จะครบวาระการดำรงตำแหน่งประธาน ARBC ในปี 2557 และ 5) กำหนดการประชุมสภาธุรกิจยางอาเซียนครั้งต่อไป ในวันที่ 9 พฤษภาคม 2558 ณ กรุงเทพฯ โดยสมาคมยางพาราไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมในช่วงเดียวกับงานเลี้ยงประจำปีสมาคมยางพาราไทย ในวันที่ 8 พฤษภาคม 2558 ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ 

         จากข้อมูลเบื้องต้นประมวลได้ว่าสภาธุรกิจยางอาเซียนมีบทบาทสำคัญในการประสานความร่วมมืออย่างเข้มแข็งระหว่างประเทศผู้ผลิต และมีส่วนช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมยางธรรมชาติให้ก้าวหน้าอย่างยั่งยืนต่อไป

Signature
นายไชยยศ สินเจริญกุล
นายกสมาคมยางพาราไทย

 

 
 
สาส์นจากนายกทั้งหมด