history history
 
   
iconปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ [   เมษายน  2564 ]

 

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดระลอกใหม่ของเชื้อไวรัสโคโรน่า-โควิด19 ส่งผลให้การเติบโตของเศรษฐกิจไทยชะลอตัวลง และมีความไม่แน่นอนสูง อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปี 2564 คาดว่าจะอยู่ที่ 3%  เพราะไทยเผชิญปัญหา “เงินบาทแข็งค่า” เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่ง ทำให้ไทยไม่สามารถแข่งขันด้านราคาส่งออกได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าเกษตรและสินค้าที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศ นอกจากนี้ภาคการส่งออกและอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ต้องเผชิญกับวิกฤติการณ์ที่คาดไม่ถึง นั่นคือ “การขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์เปล่า” ที่ใช้ในการบรรทุกสินค้าไม่เพียงพอ ซึ่งการขนส่งระหว่างประเทศทางทะเลมีสัดส่วน 90% ของการขนส่งทั้งหมด  ส่งผลให้มีการจัดส่งสินค้าล่าช้า ส่งผลกระทบอย่างหนักและเป็นวงกว้างต่อโรงงานผู้ผลิต ผู้ส่งออก บริษัทนายหน้า ธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก

If you wanna buy US luxury replica watches, you cannot miss this online store of best quality fake watches.

All the perfect UK fake watches are available here.
 
ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า-โควิด19  หลายประเทศในยุโรปและสหรัฐอเมริกาได้ออกมาตรการล็อกดาวน์  ส่งผลให้โรงงานผู้ผลิตในประเทศปิดทำการ ไม่มีการส่งออกสินค้า  มีแต่ความต้องการนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากภูมิภาคเอเชีย นอกจากนี้ ผู้ส่งออกจีนที่ใช้ตู้คอนเทนเนอร์มากกว่าปีละ 200 ล้านตู้ ต้องการเร่งส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกค้าก่อนจะหยุดยาวในช่วงเทศกาลตรุษจีน ทำให้ผู้ส่งออกไทยต้องเสียค่าบริการที่สูงขึ้นเพื่อแย่งตู้กับจีนและเวียดนาม โดยเวียดนามมีการใช้ตู้ประมาณปีละ 13 ล้านตู้  ส่วนไทยประมาณปีละ 10 ล้านตู้ ทั้งนี้ เศรษฐกิจจีนและเวียดนามฟื้นตัวเร็วเป็นอันดับต้นๆ ของโลก  จึงสามารถส่งออกสินค้าสู่ตลาดโลกได้รวดเร็วกว่าประเทศอื่นๆ ดังนั้นตู้คอนเทนเนอร์จึงไปกองรวมกันอยู่ที่จีนและเวียดนามเป็นจำนวนมากเพื่อรอการส่งออก ผลกระทบจากการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ ส่งผลให้ราคาค่าเช่าตู้คอนเทนเนอร์ปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก  โดยปกติค่าเช่าตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 40 ฟุตอยู่ที่ 2,500 เหรียญสหรัฐต่อตู้ แต่เมื่อช่วงต้นปี 2564 ที่ผ่านมา ราคาปรับตัวสูงถึง 9,000-12,000 เหรียญสหรัฐต่อตู้  ซึ่งยังไม่รวมค่าระวางเรือที่ขยับขึ้นตามไปด้วย  ส่งผลให้ต้นทุนสินค้าส่งออกปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก

  ในส่วนของการแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้นั้น คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบแนวทางการแก้ไขปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน วงเงิน 389 ล้านบาท ดังนี้ 1) ท่าเรือกรุงเทพฯ พิจารณาปรับลดค่าภาระตู้สินค้าเปล่าขาเข้าผ่านท่าเรือกรุงเทพ โดยใช้ฐานข้อมูลเดือนธันวาคม 2563 ซึ่งมีจำนวน 1,760 TEU ในอัตรา 1,000 บาทต่อTEU เป็นเวลา 3 เดือน (มกราคม-มีนาคม 2564) รวมค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเป็นจำนวนเงิน ประมาณ 5.28 ล้านบาท และ 2) ท่าเรือแหลมฉบัง จ่ายส่วนลดคืนให้แก่เอกชนผู้ประกอบการนำเข้าที่ท่าเรือแหลมฉบัง โดยจ่ายส่วนลดคืนในอัตรา 1,000 บาทต่อทีอียู เป็นเวลา 3 เดือน (มกราคม-มีนาคม 2564) การท่าเรือแห่งประเทศไทยได้ประมาณการปริมาณตู้สินค้าเปล่าผ่านท่าเรือแหลมฉบังประมาณ 128,000 TEUต่อเดือน รวมค่าใช้จ่ายในการดำเนินการประมาณ 384 ล้านบาท โดยคณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กระทรวงคมนาคม ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประเมินความคุ้มค่าในการดำเนินการและประโยชน์ที่ผู้ประกอบการส่งออกจะได้รับ รวมทั้งให้หาข้อยุติเกี่ยวกับแหล่งเงินที่จะนำมาใช้ในการดำเนินการตามแนวทางดังกล่าว

สมาคมยางพาราไทย คาดหวังว่าหน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ จะเร่งแก้ไขปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ในการขนส่งสินค้าทางทะเล เพื่อให้การขนส่งกลับสู่สภาวะปกติโดยเร็ว


นายไชยยศ  สินเจริญกุล
นายกสมาคมยางพาราไทย

Signature
นายไชยยศ สินเจริญกุล
นายกสมาคมยางพาราไทย

 

 
 
สาส์นจากนายกทั้งหมด