history history
 
   
iconความร่วมมือสามเหลี่ยมเศรษฐกิจอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย(IMT-GT) [   สิงหาคม  2563 ]

 

ความร่วมมือสามเหลี่ยมเศรษฐกิจอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย(IMT-GT) เริ่มมาตั้งแต่ปี 2536 โดยรัฐบาลอินโดนีเซีย มาเลเซีย และ ไทย มีความเห็นชอบร่วมกัน และได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือการให้ภาคเอกชนของทั้ง 3 ประเทศในพื้นที่เขตเศรษฐกิจ เป็นผู้นำทางการค้าและการลงทุน ในการนำไปสู่ความเติบโตทางเศรษฐกิจ และส่งเสริมให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค โดยแสวงหาประโยชน์จากข้อได้เปรียบทางเศรษฐกิจ อันเนื่องมาจากความใกล้เคียงและคล้ายคลึงกันทางสภาพภูมิศาสตร์ สิ่งแวดล้อม ศาสนา วัฒนธรรมประเพณีและภาษา โดยรัฐบาลของทั้ง 3 ประเทศ ได้ตกลงร่วมกันที่จะส่งเสริมบทบาทของเอกชนในการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสนับสนุนในภาครัฐให้จัดสภาพแวดล้อมและโครงสร้างพื้นฐานที่จะเอื้อต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและผลักดันให้ IMT-GT เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจของแต่ละประเทศเพื่อเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และได้กำหนดกรอบความร่วมมือทั้งสิ้น 6 ด้าน คือ (1)การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน(Infrastructure Development) หรือสะพานเศรษฐกิจ (Land bridge) (2)การค้าและการพัฒนาจุดแรกเริ่ม (Trade and In-situ Development)  (3)การดำเนินการเรื่องการตลาดเสรี และเขตโทรคมนาคมพิเศษ (Open Market Operations) (4)การพัฒนารายสาขา เน้นด้านการท่องเที่ยว (Sectoral Development as in Tourism Development)  (5)การพัฒนารายสาขา เน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Cross-Sectoral such as Human Resource Development) และ (6)การพัฒนาพื้นที่นอกเขตเมืองและการค้าภายในพื้นที่ (Development of the Hinterlands and Intra-Trade (ที่มา : ศูนย์ศึกษาเพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)
Buy uk top rolex replica watches with practical functions for female and male watch wearers.

Ne manquez pas le meilleur répliques montres cartier sur le site fiable!

ในส่วนของเศรษฐกิจและการค้า อินโดนีเซียและมาเลเซียนับเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทยในภูมิภาคอาเซียน โดยปี 2562 มาเลเซียเป็นคู่ค้าที่มีความสำคัญต่อไทยเป็นลำดับที่ 1 ในอาเซียน รองลงมาคือเวียดนาม และอินโดนีเซียตามลำดับ การค้าระหว่างไทยและมาเลเซียมีมูลค่ารวม 23,126.31.ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้ากับมาเลเซียมูลค่า 2,407.17 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่วนการค้าระหว่างไทยและอินโดนีเซียมีมูลค่ารวม 16,325.99 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยไทยได้เปรียบดุลการค้ากับอินโดนีเซียมูลค่า 1,884.37 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร)

IMT-GT มีกิจกรรมการประชุมอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดได้มีการจัดประชุม IMT-GT VDO Conference ครั้งที่ 6 ในหัวข้อ Managing the impact of Covid-19 on IMT-GT Agriculture and Agro-based Industry  ในวันที่ 29 กรกฎาคม 2563 โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวน 55 ท่านจากประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซียและไทย  โอกาสนี้ IMT-GT ได้ให้เกียรติเชิญนายศุภเดช อ่องสกุล รองเลขาธิการสมาคมยางพาราไทย ร่วมเป็นวิทยากรเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกี่ยวกับมาตรการบรรเทาผลกระทบจากเชื้อโควิด-19 ของประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซียและไทย รวมถึงเสนอแนวทางที่เป็นประโยชน์และพัฒนาความร่วมมือในกลุ่ม IMT-GT หลังจากสถานการณ์โควิด-19  โดยสรุปประเด็นสำคัญจากการประชุมดังนี้ (1)อินโดนีเซีย มาเลเซียและไทย มีมาตรการช่วยเหลือทางการเงิน ยกเว้นหรือลดภาษี แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 (2)ปัจจุบัน เศรษฐกิจโลกอยู่ในสภาวะถดถอย โดยมีสาเหตุสำคัญคือ โลกมีมูลค่าหนี้สูงสุดในประวัติศาสตร์ และสภาวะล็อคดาวน์ปิดประเทศเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ขณะเดียวกันความขัดแย้งทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกาไม่มีแนวโน้มจะยุติลง ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจยุโรป จีน สหรัฐอเมริกา ประสบภาวะชะลอตัว  นอกจากนี้การหดตัวของเศรษฐกิจจีน จะทำให้มีการย้ายการลงทุนมาที่กลุ่มประเทศ AEC มากขึ้น  และจะมีการลงทุนภายในกลุ่มประเทศ IMT-GT มากขึ้นโดยลดการพึ่งพาการลงทุนจากต่างประเทศ (จีน ญี่ปุ่น อเมริกา ยุโรป) (3)ธุรกิจการเกษตรเป็นรากฐานสำคัญของเศรษฐกิจในกลุ่ม IMT-GT ได้แก่กลุ่มปาล์ม ยางพารา อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันทั้งปาล์มน้ำมันและยางพาราได้ประสบปัญหาราคาตกต่ำ โดยเฉพาะยางพารา แต่ภาคการเกษตรยังคงช่วยเศรษฐกิจในภาพรวม ให้ผู้ที่เดือดร้อนมีงานทำและมีรายได้ เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ รวมทั้ง SME ซึ่งมีการเลิกจ้างและการว่างงานจำนวนมาก (4) กลุ่มประเทศIMT-GT เกิดอุตสาหกรรมดาวเด่น(rising Star) คืออุตสาหกรรมถุงมือยาง(medical latex gloves) ซึ่งประเทศไทยและมาเลเซียเป็นผู้ผลิตที่สำคัญของโลก เพื่อรองรับความต้องการใช้ของโลกอันเนื่องมาจากโรคโควิด-19 และเชื้อโรคอื่นๆที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต (5)ระบบการจัดการขนส่งสินค้า(logistics) มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากสภาวะล็อคดาวน์ส่งผลต่อการขาดแคลนสินค้า โดยภาครัฐควรพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติงานเฉพาะ(Standard Operation Procedures (SOPs)) เพื่อสร้างความมั่นใจในการขนส่งสินค้า 

จากข้อมูลดังกล่าว ประมวลได้ว่าความร่วมมือสามเหลี่ยมเศรษฐกิจอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย มีความสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์วิฤตจากโรคระบาด IMT-GTควรมีแผนการดำเนินการที่เหมาะสมและชัดเจน เพื่อปกป้องผลประโยชน์แก่เกษตรกรชาวสวนยาง และผู้ประกอบการ    อุตสาหกรรมยาง  สมาคมฯ คาดหวังว่าความร่วมมืออย่างเข้มแข็งภายใต้กรอบสามเหลี่ยมเศรษฐกิจอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย  จะก่อให้เกิดประโยชน์เชิงยุทธศาสตร์แก่ประเทศไทยโดยภาพรวม


นายไชยยศ  สินเจริญกุล
 นายกสมาคมยางพาราไทย

Signature
นายไชยยศ สินเจริญกุล
นายกสมาคมยางพาราไทย

 

 
 
สาส์นจากนายกทั้งหมด