history history
 
   
iconมาตรฐานการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน [   กันยายน  2562 ]

 

Forest Stewardship Council หรือ FSC เป็นองค์กรเอกชนผู้ให้การรับรองมาตรฐานการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนที่ได้รับความเชื่อถือในระดับโลก เพื่อเป็นการรับประกันว่าไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน FSC ไม่ได้มาจากป่าธรรมชาติแต่เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากป่าปลูกที่มีการจัดการป่าไม้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ และเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ เป็นเครื่องมือหรือวิธีการใหม่ที่มีผลกระทบโดยตรงต่อวงการป่าไม้ทั่วโลก โดยใช้การตลาด เป็นข้อกำหนดในการจูงใจให้ปรับปรุงวิธีการจัดการป่าไม้ตามหลักการการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ต้องมีความสมดุลใน 3 ด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม
Top cheap fake watches US for men and women. Fast shipping. Quality guarantee.

If you wanna buy cheap watches, you can consider UK AAA top breitling replica watches with Swiss movements.

FSC มีวัตถุประสงค์ร่วมกันคือ มุ่งเน้นในการปรับปรุงพื้นที่สวนป่าอนุรักษ์และลดการตัดไม้ทำลายป่าธรรมชาติ และป่าอนุรักษ์ องค์กรก่อตั้งเมื่อเดือนตุลาคม 1993 และกำหนดมาตรฐานในเดือนสิงหาคม 1994  สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงบอร์น ประเทศเยอรมัน การให้การรับรองทางด้านป่าไม้(FSC Forestry Certification) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การให้การรับรองทางด้านการจัดการปลูกป่าไม้(Forest Management Certification (FSC-FM)) และการให้การรับรองระบบห่วงโซ่อุปทานของผลิตภัณฑ์ไม้และยางพาราอย่างยั่งยืน (Chain-of-Custody Certification (FSC-COC)) โดยการให้การรับรองทางด้านการจัดการปลูกป่าไม้ ยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งสามารถแบ่งได้ 10 หลักการ (FSC's 10 Principles of Responsible Forest Management) ดังนี้ 1.ความสอดคล้องระหว่างกฎหมาย กับหลักการต่างๆ ของ FSC 2. สิทธิใบการถือครองและการใช้ประโยชน์และความรับผิดชอบ 3. สิทธิของชนพื้นเมือง 4. ความสัมพันธ์ต่างๆกับชุมชน และสิทธิต่างๆของคนงาน 5. ผลประโยชน์จากป่าไม้ 6. ผลกระทบสิ่งแวดล้อม 7. แผนการจัดการป่าไม้ 8. การตรวจตรากำกับดูแล และการศึกษาวิเคราะห์ 9. การฟื้นฟูป่าไม้ที่มีคุณค่าสูงด้านการอนุรักษ์ และ 10. ข้อกำหนดเฉพาะของสวนป่า และในส่วนการให้การรับรองระบบห่วงโซ่อุปทานของผลิตภัณฑ์ไม้และยางพาราอย่างยั่งยืนนั้น จะช่วยส่งเสริมการใช้วัตถุดิบจากสวนป่าที่มีการจัดการอย่างยั่งยืนทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและเศรษฐกิจ เพิ่มคุณค่าและมูลค่าของสินค้าในด้านการอนุรักษ์และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แสดงถึงจิตสำนึกและเป็นภาพลักษณ์ที่ดีต่อผู้ประกอบการ (CSR) และยังสะท้อนให้เห็นว่าสินค้า/ ผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการ ไม่ได้ใช้วัตถุดิบที่มาจากแหล่งที่ผิดกฎหมายหรือตัดไม้ทำลายป่า

ในขณะนี้หลายหน่วยงานตั้งแต่ต้นน้ำ จนถึงปลายน้ำตระหนักและให้ความสำคัญในเรื่องนี้อย่างมาก ซึ่งในขณะนี้ มีบริษัทฯ ที่ได้ดำเนินการและได้ผ่านการรับรองมาตรฐาน FSC แล้ว ถือเป็นการผลักดันอุตสาหกรรมยางพาราไทยจนถึงอุตสาหกรรมถุงมือยางไทยให้เติบโตสู่มาตรฐานระดับโลก

จากข้อมูลข้างต้น ประมวลได้ว่ามาตรฐานการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน เป็นหลักการที่จำเป็นอย่างยิ่งในการรักษาสิ่งแวดล้อม ชุมชน และผลประโยชน์ของทุกฝ่าย ถึงเวลาแล้วที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายควรศึกษาและนำหลักปฏิบัติดังที่ได้กล่าวไปแล้ว ไปปรับใช้ในการดำเนินงาน เพื่อให้อุตสาหกรรมยางพารามีความยั่งยืนตลอดไป

Signature
นายไชยยศ สินเจริญกุล
นายกสมาคมยางพาราไทย

 

 
 
สาส์นจากนายกทั้งหมด